วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คณะผู้จัดทำ



                        สำหรับบล็อกนี้นะครับเป็นบล็อกที่สร้างขึ้นเพื่อการศึกษา ทั้งนี้เนื้อหาส่วนหนึ่งของบล็อกได้อ้างอิงมาจากหลายๆ เว็บไซค์ ซึ่งผู้จัดทำมิได้มีเจตนารมณ์ที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาเเต่อย่างใด

ผู้นำเสนองานที่ดี

                                   บทที่ 4 ทักษะของผู้นำเสนองานที่ดี


  •  ลักษณะการนำเสนอที่ดีของผู้นำเสนอ

              การนำเสนอ เป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต
ลักษณะการนำเสนอที่ดี
              นอกจากการเลือกรูปแบบของการนำเสนอ  ให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว  จะต้องคำนึงถึงลักษณะของการนำเสนอ  ที่จะช่วยให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วย  โดยทั่วไปลักษณะของการนำเสนอที่ดี  ควรมีดังต่อไปนี้
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน  กล่าวคือ  มีความต้องการที่แน่ชัดว่า  เสนอเพื่ออะไร  โดยไม่ต้องให้ผู้รับรับการนำเสนอต้องถามว่าต้องการให้พิจารณาอะไร
2.มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม  กล่าวคือ  มีความกระทัดรัดได้ใจความ  เรียงลำดับไม่สนใช้ภาษาเข้าใจง่าย  ใช้ตาราง  แผนภูมิ  แผนภาพ  ช่วยให้พิจารณาข้อมูลได้สะดวก
3.เนื้อหาสาระดี  กล่าวคือ  มีความน่าเชื่อถือ  เที่ยงตรง  ถูกต้อง  สมบูรณ์ครบถ้วน ตรงตามความต้องการ  มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทันสมัย  และมีเนื้อหาเพียงพอแก่การพิจารณา
4 มี ข้อเสนอที่ดี  กล่าวคือ  มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล  มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ ทางเลือกที่เห็นได้ชัด  เสนอแนะแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน    

             
   
  •   คุณสมบัติของผู้นำเสนอ

                        ในการนำเสนอด้วยวาจา  คุณสมบัติอันเป็นลักษณะประจำตัวของผู้นำเสนอ  ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในการนำเสนอ  เพราะคุณสมบัติของผู้นำเสนอจะมีอิทธิพลต่อการโน้นน้าวชักจูงให้เกิดความสนใจ  ความไว้วางใจ  เชื่อถือ  และการยอมรับได้มาก  เท่ากับหรือมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ
       ผู้นำเสนอที่ประสพความสำเร็จส่วนใหญ่  จะมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.       มีบุคลิกดี
2.       มีความรู้อย่างถ่องแท้
3.       มีความน่าเชื่อถือไว้วางใจ
4.       มีความเชื่อมั่นในตนเอง
5.       มีภาพลักษณ์ที่ดี
6.       มีน้ำเสียงชัดเจน
7.       มีจิตวิทยาโน้นน้าวใจ
8.       มีความสามารถในการใช้โสตทัศนอุปกรณ์
9.       มีความช่างสังเกต
10.     มีไหวพริบปฏิภาณในการคำถามดี



  • ทักษะของผู้นำเสนอ

                    ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาและฝึกฝนตนเองให้มีทักษะหลายด้าน   เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้นำเสนอที่ดี  เพราะผู้นำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการนำเสนอ   โดยทั่วไปผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะดังต่อไปนี้
1.      ทักษะในการคิด  (conceptual  skill )  ผู้นำเสนอจะต้องเรียนรู้  และ สร้างความชำนาญชัดเจนในการคิดแม้ว่าจะมีเนื้อหาสาระจากข้อมูลที่มีอยู่  ผู้นำเสนอก็จะต้องคิดพิจารณาเลือกใช้ข้อมูล  และลำดับความคิด  เพื่อจะนำเสนอให้เหมาะแก่ผู้รับการนำเสนอ  ระยะเวลา และโอกาส
2.       ทักษะในการฟัง (listening  skill ) ผู้นำเสนอจะต้องสดับรับฟัง  และสั่งสมปัญญา
เป็นการรอบรู้จากการได้ฟัง  ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะนำเสนอเพื่อนำมากลั่นกรอง  เรียบเรียงเป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
3.       ทักษะในการพูด (speaking  skill )ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการพูด  เพื่อบอกเล่า
เนื่องโน้นน้าวจูงใจ  ให้ผู้รับฟังการนำเสนอเห็นด้วย  อันจะเป็นทางทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
4.       ทักษะการอ่าน  (reading  skill ) ผู้นำเสนอจะต้องเป็นนักอ่านที่มีความชำนิชำนาญ
ชัดเจนในการสั่งสมข้อมูล  สามารถประมวลความรู้นำมาใช้ในการนำเสนอได้เพียงพอแก่ความต้องการของผู้รับการนำเสนอ
5.       ทักษะในการเขียน (writing  skill )ผู้นำเสนอจะต้องเสริมสร้างทักษะการเขียน
เพราะการเขียนเป็นการแสดงความคิด  ความเชื่อ  ความรู้  ความรู้สึก  อารมณ์ และ ทัศนคติ ของผู้เขียนให้ผู้อ่านได้ทราบโดยใช้ตัวอักษร  การนำเสนอด้วยการเขียนจึงต้องมีความประณีต  พิถีพิถันในการเลือกใช้คำด้วยการรู้ความหมายที่แท้จริงของถ้อยคำ  และใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องเหมาะสม
  6.  ทักษะในการถ่ายทอด  (delivery  skill )  ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนการถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์  ด้วยวิธีนำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสถานการณ์ในการนำเสนอ



G-mail

   9.G-mail
         จีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (เบต้า) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย
                จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน
พื้นที่เก็บอีเมลของจีเมล
ในระยะแรก จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมล 1 จิกะไบต์ต่อหนึ่งอีเมลของจีเมล และตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา[9] จีเมลจะเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน จีเมลให้พื้นที่เก็บอีเมลมากกว่า 10 จิกะไบต์ และยังคงเพิ่มขึ้นทีละน้อยอยู่ตลอดเวลา โดยหากมีการใช้งานมาก ต้องการความจุเพิ่มขึ้นจากที่ทางจีเมลให้บริการฟรี สามารถอัปเกรดได้โดยเสียค่าบริการเพิ่ม โดยความจุที่เพิ่มขึ้นจะใช้ร่วมกันระหว่างบริการ ปีกาซา กูเกิล ด็อกส์ และ จีเมล
  • คุณสมบัติของจีเมล

-รับรองระบบ POP3 IMAP และ SMTP รองรับการเพิ่มบัญชี 5 ชื่อ
-มีระบบการค้นหาภายใน ทั้งที่เป็นอีเมลเฉพาะหมวดหมู่ที่ผู้ใช้กำหนดขึ้น และอีเมลทั้งหมด
-สามารถแท็ก อีเมลเพื่อแยกเป็นหมวดหมู่ได้ มีป้ายกำกับให้โดยเฉพาะ
-มีระบบป้องกันสแปมและป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์และระบบคัดกรองจดหมายขยะด้วยตนเองได้
-มีบริการแชทจากหน้าจอเว็บเบราว์เซอร์ ที่เรียกว่า กูเกิลทอล์ก โดยรองรับการเชื่อมต่อด้วยกล้องแล้ว
-มีระบบบันทึกอีเมลก่อนส่ง และระบบบันทึกอัตโนมัติ (auto-save) สามารถเซฟอีเมลที่เรากำลังพิมพ์อยู่ได้ ทำให้ถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีปัญหา หรือเกิดไฟดับ เราอาจจะไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งการเก็บบันทึกไว้เป็บแบบร่างได้ทันที
-สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน้าต่างของจีเมลได้
-บริการทั้งหมดเป็นบริการฟรี ยกเว้นการซื้อพื้นที่เก็บอีเมลเพิ่มขึ้นจากพื้นที่ที่จีเมลจัดให้
  • การใช้งานของจีเมล


                 จีเมลนอกจากใช้ในการส่งเมลแล้วเรายังสามารถใช้ในการส่งงานหรือบันทึกงานกล่าวคือหากเราส่งงานไปยังผู้รับงานจะสามารถบันทึกและเราสามารถเรียกกลับมาใช้ได้เสมอ


  • หน้าตาของ Gmail

เทปแบ็คอัพเเละการ์ดเมมโมรี

7.เทปแบ็คอัพ
             เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์เป็นอุปกรณ์สำหรับการ Backup ข้อมูลโดยเฉพาะ interface ส่วนใหญ่ เป็นแบบ SCISI II, Ultra SCISI ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ ขนาดระดับ 10-100 GB โดยส่วนใหญ่จะใช้สำรองข้อมูลในหน่วยงาน บริษัท ต่าง ๆ เพราะว่าผู้ใช้โดยทั่วไปคงไม่มีความจำเป็นถึงกับต้องการสำรองข้อมูลที่ใหญ่ ขนาดนั้น เพราะราคาเครื่องเริ่มต้นค่อนข้างสูงพอสมควร แต่ราคาของตัว Tape ที่นำมา Backup นั้นราคาต่อขนาดแล้วค่อนข้างต่ำกว่าสื่อสำรองข้อมูลแบบอื่น ๆ เพราะฉะนั้น Tape backup นี้ยังคงไดัรับความนิยมในการนำมาใช้สำรองข้อมูล ขนาดใหญ่ ๆ


8.การ์ดเมมโมรี
               การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น



ซิบไดร์ฟเเละMagnetic optical Disk Drive

5.ซิบไดร์ฟ

               ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์



6.Magnetic optical Disk Drive
               Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมี ขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์


ซีดีเเละรีมูฟเอเบิลไดร์ฟ

3.ซีดี
               ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)




4.รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ
            รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟ มีตั้งแต่ 8 , 16 , 32 , 64 , 128 จนถึง 1024 เมกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive




ฟล็อบปี้ดิสก์

2.ฟล็อบปี้ดิสก์                                                      
                แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ ( Floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) หรือ แผ่นบันทึก เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)

             เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น
  • ความจุของฟล็อปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ

ขนาด
แบบ
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.25 นิ้ว
Single sided-Double Density
1
160/180 KB

Double sided-Double Density
2
320/360 KB

HD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Single Density
2
720 KB

Double sided-High Density
2
1.44 MB

Double sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้ว
Floptical Disk
2
120 MB









ฮาร์ดดิสก์

                 บทที่ 3 อุปกรณ์เเละโปรเเกมในการบันทึกงาน

           ในการนำเสนองานบางครั้งเราอาจต้องบันทึกงานออกเป็นสองส่วน เพื่อให้สะดวกในการการเรียกใช้  โดยอาศัยอุปกรณ์ (หน่วยความจำรอง)
               หน่วยความจำรอง (Scond Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
 1.ฮาร์ดดิสก์ 
                  ฮาร์ดดิสก์(hard disk drive) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
  • ขนาดและความจุ

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
-ขนาด 8 น้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร)                                                                                                               -ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร)                                                                                                            -ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์                                                                                                                                                                                                    -ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปท็อป, UMPC, เน็ตบุ๊ก, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์                                                                                                                                                                                                                   -ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร)                                                                                                                        -ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร)                                                                                                                                         ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SAN (Storage area network) เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
  •  การเก็บข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์

                ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น